นายบุญมาก สิงห์คำป้อง

ต้นแบบเกษตรตัวอย่างของชุมชน โคกล่าม แสงอร่าม บุญมาก เป็นชาวบ้านโคกล่าม แสงอร่าม ที่มีพื้นที่แปลงนาติดกับอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายฯ ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี แต่ในอดีตนั้นไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ จนกระทั่งโครงการปิดทองหลังพระฯ เข้ามาทำโครงการฯ บุญมากจึง

นายบุญมาก สิงห์คำป้อง

ประวัติความเป็นมา

บุญมาก เป็นชาวบ้านโคกล่าม แสงอร่าม ที่มีพื้นที่แปลงนาติดกับอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายฯ ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี แต่ในอดีตนั้นไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ จนกระทั่งโครงการปิดทองหลังพระฯ เข้ามาทำโครงการฯ บุญมากจึงเป็นเกษตรกรคนแรกๆ ที่ได้เข้าร่วมโครงการและเป็นตัวอย่างความสำเร็จให้กับชาวบ้าน


รายละเอียดเพิ่มเติม

"ก่อนหน้าที่โครงการจะเข้ามาก็ไม่ได้ทำอะไรมาก ปีๆ นึงก็ ทำนาข้าว ปลูกมันสำปะหลัง พอโครงการเข้ามาเราก็มีทุกอย่าง เมื่อก่อนไม่ได้ปลูกมะละกอจะตำส้มตำแต่ละทีก็ต้องไปซื้อมาทำ แต่ตอนนี้ตลาดจะต้องมาซื้อผมแล้ว อย่างผักนี่ก็มีแทบทุกอย่าง สามารถที่จะเก็บมาทำอาหารได้เลย อยากจะกินอะไร ไม่ต้องไปซื้อ ตอนนี้ก็มีพริก มะเขือ มะละกอ โหระพา ฟักทอง ข้าวโพด แมงลัก สะระแหน่ ผักชี หอม ชะอม มีหลายอย่างหลากหลายผสมกันไป ทำกัน 2 คนได้พออยู่พอกิน เพื่อนบ้านได้มาอาศัยกินด้วย แล้วก็เลี้ยงหมู เวลาเลี้ยงเราไม้เน้นหัวอาหาร แต่เลี้ยงด้วยหยวกกล้วยจากโครงการฯ ซึ่งเป็นข้อบังคับใครอยากได้ลูกหมูไปเลี้ยงต้องปลูกกล้วย ให้ได้ก่อน 50 ต้น เอาไว้เป็นอาหารหมู นอกจากนั้นที่นี่ยังมปลูกผักสวนครัวทุกอย่าง ที่นี่เลี้ยงไส้เดือนด้วย เอามูลมันไปช่วยทำให้ดินดี เลี้ยงไส้เดือนไว้ให้เป็ดไก่"

"ตะบันน้ำ" ภูมิปัญญาชาวบ้าน ประหยัดพลังงาน ประหยัดเงิน
ช่วงเมษายนก่อนเข้าฤดูทำนา ควรปรับปรุงดินด้วยพืชหลังนา เช่น ถั่ว โสน ปอเทือง แต่เนื่องจากพื้นที่นาเป็นที่สูง บุญมากใช้วิธีขุดบ่อรองรับน้ำจากโครงการปิดทองหลังพระฯ จากนั้นสูบน้ำขึ้นนาด้วย "ตะบันน้ำ" ก่อนปล่อยน้ำไหลลงตามความลาดชันสู่แปลงนาด้านล่าง "ตะบันน้ำที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ ไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ซึ่งใช้ในที่ห่างกัน 12 เมตร จากระยะห่าง ล่างขึ้นบนสามารถนำน้ำขึ้นไปใช้ได้ บ่อนี้น้ำเป็นสีขาวเพราะเป็นลูกรัง เรามีวิธีปรับสภาพน้ำ โดยเอาฟางจานามาโยนลงไปในน้ำ แล้วก็เอาปุ๋ยคอกลงพอมันทำปฏิกิริยาจะทำให้น้ำเปลี่ยนจากสีขาวๆ มาเป็นสีใสๆ เลี้ยงปลาก็ได้ ตะบันน้ำไปเลี้ยงพืชผักก็ได้ ต้นทุน "ตะบันน้ำ" ใช้วัสดุหาได้จากตลาด ทั้งหมดประมาณ 3,400 บาท ไม่ต้องใช้น้ำมันแล้ว"

การทำน้ำส้มควันไม้
การทำทำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ในการเกษตรเพื่อป้องกันโรค แมลงศัตรูพืช เพื่อให้การทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจร โดยไม่ใช้สารเคมีฆ่าแมลง
อัตราการใช้
น้ำส้มควันไม้ 10 ลิตร
น้ำเปล่า 20 ลิตร
ฉีดพ่น 1 ครั้งต่อสัปดาห์ สามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชได้
เทคนิคพิเศษของบุญมาก : นำใบสะเดามาขยี้ใส่ในถังรองรับน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้

บทความอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ