โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ

หลักการในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพิจารณาปัจจัยต่างๆ คือ ความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ, ความเหมาะสมเกี่ยวกับสภาพแหล่งน้ำ, ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้านสภาพท้องถิ่นและสังคม

หลักการในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1) ความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ : พระองค์จะทรงสอบถามถึงข้อมูลความต้องการน้ำ บริเวณที่ต้องการน้ำว่าอยู่ในเขตใดหมู่บ้านใด สภาพการขาดแคลนน้ำในแต่ละปีส่งผลเสียต่อการเพาะปลูกมากน้อยอย่างไร จากนั้นจึงบันทึกข้อมูลลงในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 แล้วจึงพิจารณาสภาพภูมิประเทศจากข้อมูลที่แสดงในแผนที่ รวมกับข้อมูลจากเกษตรกร บางครั้งใช้ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อพิจารณาว่า จะจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปใด ขนาดเล็กหรือใหญ่ และพิจารณาร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ เพื่อหาลู่ทางที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศเพื่อการมอบหมายงานต่อไป

2) ความเหมาะสมเกี่ยวกับสภาพแหล่งน้ำ การพิจารณาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำ สภาพภูมิประเทศ รวมกับความต้องการของราษฎรด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีในแต่ละท้องถิ่นเสมอ นอกจากนี้ การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำหรือฝายแต่ละแห่ง ยังต้องคำนวณสภาพน้ำว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใดก่อนทุกครั้ง และเมื่อไปถึงท้องที่จริง พระองค์ยังจะศึกษาสภาพที่แท้จริงเกี่ยวกับการไหลของน้ำและขนาดของลำน้ำ เพื่อประกอบการวางโครงการที่เหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำ

3) ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและสังคม การดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ จะต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการลงทุนก่อสร้างว่า จะคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรในท้องถิ่นนั้นมากน้อยเพียงใด หากต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อาจจะต้องระงับหรือชะลอการก่อสร้าง หรือให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นำไปวางโครงการให้เหมาะสมเสียก่อน

4) ด้านสภาพท้องถิ่นและสังคม จะต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับคนกลุ่มหนึ่ง โดยสร้างประโยชน์ให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลงทุนนั้นจะมีความเหมาะสมเพียงใด ด้วยเหตุนี้การดำเนินงานของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกแห่ง จึงต้องให้เกษตรกรในหมู่บ้านซึ่งได้รับประโยชน์ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดิน เพื่อให้ทางราชการสามารถเข้าไปใช้ที่ดินทำการก่อสร้างได้โดยไม่ต้องจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นการให้เกษตรกรมีส่วนร่วมกับรัฐบาลและช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในสังคมของตนเอง และมีความหวงแหนที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างนั้นๆต่อไปด้วย

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ