การอนุรักษ์พัฒนาแหล่งน้ำ โดย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เนื่องจากแต่เดิมพื้นที่มีความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นเขตอับฝน ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ภูเขามีสภาพเป็นภูเขาหัวโล้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำริว่า "ให้จัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนการปลูกป่าและการเพาะปลูกพืช"

การอนุรักษ์พัฒนาแหล่งน้ำ โดย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เนื่องจากแต่เดิมพื้นที่มีความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นเขตอับฝน ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ภูเขามีสภาพเป็นภูเขาหัวโล้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำริว่า "ให้จัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนการปลูกป่าและการเพาะปลูกพืช" (5 เม.ย. 2526) และทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติมให้จัดหาแหล่งน้ำภายนอกมาเติม เนื่องจากด้านทิศตะวันตกของอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดมีพื้นที่สนามกอล์ฟของเอกชนตั้งอยู่ พื้นที่รับน้ำฝนมีไม่เพียงพอ โดยให้กรมชลประทานร่วมกับกรมแผนที่มหาร พิจารณาพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

  1. พิจารณาวางแนวท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดมายังอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ในกรณีที่ระดับความสูงไม่พอที่น้ำจะไหลมาเองได้ ก็ควรพิจารณาติดตั้งเครื่องสูบน้ำตามความเหมาะสม ซึ่งถ้าทำได้จะเป็นตัวอย่างที่น่าดูมาก
  2. พิจารณาจัดสร้างแหล่งน้ำเพิ่มเติมในพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดและอ่างเก็บน้ำห้วยทราย เพื่อเก็บน้ำสำรองไว้เติมให้แก่อ่างเก็บน้ำห้วยทราย (22 ก.ค. 2535)

    โครงการชลประทานเพชรบุรี ได้ดำเนินงานสนองแนวพระราชดำริ ในเรื่องของการจัดหาแหล่งน้ำขึ้นซึ่งต่อมาได้มีพระราชดำริ ในเรื่องของการจัดหาแหล่งน้ำขึ้นซึ่งต่อมาได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมถึงเรื่องการจัดทำระบบเครือข่ายอ่างเก็บน้ำ (อ่างพวง) มีการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จำนวน 4 อ่าง คือ 1) อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด 2) อ่างเก็บน้ำเขากระปุก 3) อ่างเก็บน้ำห้วยทราย และ 4) อ่างเก็บน้ำหนองไทร ซึ่งในแต่ละอ่างมีขนาดและความจุไม่เท่ากัน ตลอดจนอยู่ในระดับความสูงของพื้นที่แตกต่างกันด้วย เมื่อได้ดำเนินการวางท่อเชื่อมต่อกันเสร็จแล้ว สามารถนำน้ำมาเติมให้กันได้ ในกรณีที่ขาดแคลน โดยมีวัตถุประสงค์ ก็เพื่อสนับสนุนภารกิจภายในศูนย์ เช่น การฟื้นฟูสภาพดิน งานปลูกป่า และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในการประกอบอาชีพนั้นเอง

    การทำงานของระบบเครือข่ายอ่างเก็บน้ำ (อ่างพวง) มีหลักการอยู่ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ตอนบนสามารถปล่อยน้ำลงมาเติมอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดเล็กที่อยู่ตอนล่างได้ โดยการเชื่อมต่อท่อส่งน้ำในแต่ละอ่างเก็บน้ำเข้าหากัน โดยที่อ่างเก็บน้ำทุ่งขาม ส่งน้ำลงมาที่อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดและอ่างเก็บน้ำห้วยทราย - หุบกะพง และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด สามารถส่งน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำเขากระปุกเชื่อมต่อท่อไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยทราย ทำให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ราษฎรสามารถมีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค ตลอดจนการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ทั้งนี้จะต้องมีแผนงานในการใช้จ่ายน้ำของแต่ละปี หรือแต่ละฤดูกาลเพาะปลูก เพื่อให้มีน้ำในการบริหารได้ตลอดทั้งปี

    ปัจจุบันการดำเนินงานได้มีความก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง โดยการทดลองนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ คือการนำเอาข้อมูลพื้นฐานของแต่ละอ่างเก็บน้ำ นำเข้าในระบบฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณน้ำในอ่าง การควบคุมการจ่ายน้ำ ตลอดจนแสดงสถานภาพปริมาณน้ำคงเหลือในอ่างเก็บน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วและบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ที่มา: 84 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช โดย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ