ประธานสถาบันปิดทองหลังพระฯ ติดตามการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบจังหวัดน่าน

นายกฤษฎา บุญราช ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ บ้านน้ำป้าก ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา จ.น่าน เพื่อติดตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่สูงและสลับที่ราบเชิงเขา ซึ่งสถาบันฯ ได้เข้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน เมื่อปี 2552 หลังเกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มมีชาวบ้านเสียชีวิต สภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงจากผลกระทบของน้ำหลากทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ เมื่อน้ำไหลไปหมดก็เข้าสู่ภาวะแล้งซ้ำซาก 

สถาบันฯ จึงได้ร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งวิทยากรมาแนะนำชาวบ้านให้ทำฝาย โดยได้สำรวจระดับความสูง ระดับความเชี่ยวของน้ำ และชาวบ้านได้สละแรงงานร่วมมือกันซ่อมแซม โดย สถาบันฯ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการทำฝายและบ่อพวง จึงทำให้หมู่บ้านแห่งนี้มีแหล่งกักเก็บน้ำ สามารถช่วยเหลือชาวบ้านให้มีอาชีพเกษตรกรรมได้ยั่งยืน จนถึงปัจจุบัน

นายวรพล ไชยสลี เกษตรกรต้นแบบบ้านน้ำป้าก เล่าว่า ในปี 2552 ปิดทองหลังพระฯ เริ่มเข้ามาทำงานในพื้นที่ต้นแบบ และทำการประชาคมหมู่บ้านร่วมกับชาวบ้านบ้านน้ำป้าก บ้านห้วยธนู เพื่อดูความต้องการของชาวบ้าน ซึ่งเมื่อชาวบ้านมีความพร้อม สถาบันปิดทองหลังพระฯ ก็จะเข้ามาสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น และชาวบ้านเป็นผู้ลงมือลงแรงในการทำงาน โดยทุกโครงการผ่านการสนับสนุนและขับเคลื่อนจากระดับจังหวัด กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยปิดทองหลังพระฯ เป็นผู้ช่วยประสานงานและสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ ในปี 2552 จึงมีการดำเนินการสร้างฝาย 3 รูปแบบ คือ ฝายอนุรักษ์ ฝายเพื่อการจัดการน้ำใช้ทางการเกษตร และฝายน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค กระทั่งในปี 2554 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้เข้ามาร่วมกับปิดทองหลังพระฯ ส่งเสริมการทำฝายเพื่อการจัดการน้ำใช้ทางการเกษตรให้กับชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากแหล่งน้ำเพิ่มขึ้นอีกกว่า 200 ครัวเรือน

เมื่อมีน้ำ ชาวบ้านก็พร้อมใจกันเรียนรู้เกี่ยวกับแนวพระราชดำริ การทำเกษตรทฤษฏีใหม่ ซึ่งเริ่มจากการพัฒนาระบบน้ำ เรียนรู้การทำเกษตร ปลูกข้าว พืชหลังหน้า พัฒนาการทำเกษตรให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดีขึ้น ทำให้เกิดความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาทักษะ ด้านต่าง ๆ มากขึ้น


นายธนวัฒน์ แปงล้วน สมาชิก อบต.ตาลชุม กล่าวเสริมว่า หลังจากปิดทองฯ เข้ามาสนับสนุนให้มีฝายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ทำให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ในการทำการเกษตรเพิ่มมาขึ้นถึงปีละ 3 ครั้ง จากเมื่อก่อนทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น เนื่องจากขาดแคลนน้ำ ทำให้ทุกวันนี้ชาวบ้านมีอาชีพและรายได้ที่ดีและมั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชนก็ดีขึ้นตามไปด้วย


ด้าน นางสาวลลิสราพร มังคละ เกษตรกรต้นแบบปิดทองหลังพระฯ บ้านน้ำป้าก ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา จ.น่าน เล่าว่า หลังจากปิดทองฯ เข้ามาสนับสนุนให้มีฝายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ช่วงฤดูแล้งได้ใช้พื้นที่ 4 ไร่ ของตนเองปลูกพืชหลังนา ซึ่งนอกจากจะได้น้ำจากฝายแล้ว ยังมีน้ำจากบ่อพวงที่ชาวบ้านช่วยกันขุดไว้ในพื้นที่ไร่ของตนมาช่วยเสริมอีก 2 บ่อ โดยปิดทองฯ ได้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการขุดบ่อพวง ซึ่ง 1 บ่อ จะใช้งบประมาณ 8,000 บาท รวมหมู่บ้านนี้มีบ่อพวงทั้งหมด 43 บ่อ โดยบ่อหนึ่งอาจมีการใช้น้ำร่วมกัน 2-3 ราย นอกจากนี้บ่อพวงเหล่านี้ก็ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงปลา เป็นการประมงพื้นบ้าน นอกเหนือจากการกสิกรรมในฤดูแล้งอีกด้วย

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ