ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"

“การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป”

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น 20 ธันวาคม 2516

“การจัดการความรู้และการส่งเสริมการพัฒนาตามแนวพระราชดำริอย่างเป็นระบบกว้างขวางจนกระทั่งเป็นแนวทางหลักในการ พัฒนาประเทศ” คือพันธกิจสำคัญที่ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราช ดำริ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2551

การน้อมนำแนวพระราชดำริ มาประยุกต์ใช้ ปิดทองหลังพระฯสร้างพื้นที่ต้นแบบ 9 จังหวัด ได้แก่ น่าน เพชรบุรี อุทัยธานี อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นราธิวาส ยะลา ปัตตานี และขยายผลไปจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และแม่ฮ่องสอน รูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสร้างห้องปฏิบัติการทางสังคม Social Lab ส่งต่อให้ชุมชนเรียนรู้ นำไปปฏิบัติ ต่อยอดสร้างความเข้มแข็ง ความสามัคคี พึ่งพาตนเองได้ ศึกษาองค์ความรู้ พัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม


“...การทำงานใดๆ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ควรอย่างยิ่งที่จะตั้งเป้าหมาย ขอบเขต และหลักการไว้ให้แน่นอน เพราะจะช่วยให้สามารถ ปฏิบัติมุ่งเข้าสู่ผลสำเร็จได้โดยตรง และถูกต้องพอเหมาะพอดี เป็นการป้องกัน และขจัดความล่าช้า ความสิ้นเปลือง ความเสียเปล่า ทุกอย่างได้อย่างสิ้นเชิง..”

พระบรมราโชวาทพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 17 กรกฎาคม 2530

ธงนำการพัฒนาพื้นที่โดยศึกษาจากแนวพระราชดำริที่ทรงพระราชทานไว้ การได้เรียนรู้ และนำไปปฏิบัติจริงสามารถสร้างความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมาย ขอบเขต และหลักการที่ชัดเจน วัดผลได้

หลักการแรก “องค์ความรู้ 6 มิติ” ก่อนการจัดทำแผนโครงการแต่ละพื้นที่ ปิดทองหลังพระฯจะร่วมกับหน่วยงานภาคี อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานระดับจังหวัดผู้ดูแลพื้นที่ ศึกษาหาข้อมูลพื้นฐานชุมชนเพื่อจะได้รู้ปัญหาที่แท้จริง องค์ความรู้ใน 6 มิติ ประกอบด้วย ดิน น้ำ เกษตร พลังงานทดแทน ป่า และ สิ่งแวดล้อม ที่ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิสังคมและสภาพของชุมชน

ตัวอย่างสภาพปัญหา จังหวัดน่าน ก่อนปี 2552 ป่าต้นน้ำถูกทำลาย สิ่งแวดล้อมเสียหาย เกิดภัยแล้ง เพาะปลูกไม่ได้ผล ทำการเกษตรแบบพืชเชิงเดี่ยว คนในชุมชนขาดอาชีพต้องออกไปรับจ้างนอกพื้นที่ ขาดแคลนรายได้ เกิดปัญหาในครัวเรือน ตามมาด้วยสุขภาพอนามัย ฯลฯ จนส่งผลกระทบในหลายมิติกับพื้นที่อื่นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต วัฒนธรรม เช่นปัญหาป่าต้นน้ำจากแม่น้ำน่านลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

เพชรบุรี ป่าต้นน้ำที่เกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ทำกิน อุทัยธานี พื้นที่ป่าถูกทำลาย ระบบนิเวศน์เสียหาย อุดรธานี ชอนแก่น กาฬสินธุ์ ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร 3 จังหวัดชายแดนใต้ปัญหาความไม่สงบ ชาวบ้านขาดอาชีพ และ 4 จังหวัดชายแดนภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอนรับผลกระทบจากปัญหาการค้ายาเสพติด

เมื่อเข้าใจสภาพของแต่ละพื้นที่จึงเริ่มจัดทำแผนโครงการเพื่อแก้ปัญหา ความแตกต่างตามสภาพภูมิสังคม ทุกพื้นที่ผ่านความเห็นชอบจากระดับจังหวัด มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงานวางแนวทางแก้ไข เป็นการบูรณาการความร่วมมือแบบยั่งยืน มีความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้ง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และปิดทองหลังพระฯเป็นผู้ประสานงาน

หลักการ “พัฒนาตามแนวพระราชดำริ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” กลไกสำคัญเพื่อสร้างความร่วมมือจากคนในพื้นที่ ความเข้าใจ เป็นส่วนสำคัญในการเริ่มต้น เช่น เมื่อขาดน้ำก็ต้องมีการพัฒนาแหล่งน้ำ ขาดความรู้ก็ส่งเสริมการเรียนรู้ ปลูกพืชแบบผสมผสานตามแนวเกษตรทฤษฏีใหม่เพื่อสร้างรายได้ต่อเนื่อง ลดปัญหาหนี้สินในครัวเรือนก็ต้องวางแผนลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ เป็นต้น

การเข้าถึง คนที่รู้ปัญหาที่แท้จริงคือเคนในชุมชนและเกิดจากความต้องการที่จะแก้ไข พร้อมที่จะพัฒนาตนเอง ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ระเบิดจากข้างใน” การทำงานให้เข้าถึงจึงต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา สร้างความเชื่อมั่นว่ามีหน่วยงานพร้อมเข้ามาสนับสนุนเพื่อสร้างความร่วมมือ ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการทำงาน สร้างความสามัคคี

การพัฒนา จึงสามารถเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของคนในชุมชนลงมือทำด้วยตนเอง ปิดทองหลังพระฯ ทำหน้านี้เป็นผู้ประสานงาน เป็นพี่เลี้ยง สนับสนุนปัจจัยที่จำเป็น หน่วยงานภาคีช่วยในเรื่องปรับปรุงกฎระเบียบที่จำเป็น ส่งเสริมองค์ความรู้ ศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติการ ให้คำแนะนำ ติดตามประเมินผลความก้าวหน้า

หลักการทรงงานและหลักการโครงการ
การพัฒนาในพื้นที่ต้นแบบของปิดทองหลังพระฯ ในทุกพื้นที่จึงเป็นไปตามลำดับขั้น ทุกกระบวนการ โดยใช้ทั้งหลักการทรงงาน และหลักการโครงการ ที่ชัดเจนและเห็นผลจริง หลักการทรงงาน ได้แก่ ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ มององค์รวม ไม่ยึดติดตำรา ทำให้ง่าย เน้นการมีส่วนร่วม คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม พออยู่พอกิน ขาดทุนคือกำไร ความเพียร เศรษฐกิจพอเพียง ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ปลูกป่าในใจคน ทำงานอย่างมีความสุข รู้-รัก-สามัคคี ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด

หลักการโครงการ ประกอบด้วย ระเบิดจากข้างใน แก้ปัญหาที่จุดเล็ก ทำตามลำดับขั้น ใช้อธรรมปราบอธรรม การพึ่งตนเอง พออยู่พอกิน ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน คำนึงถึงภูมิสังคม บริการที่จุดเดียว

ตัวชี้วัดผลจากการทำงานตามแนวพระราชดำริที่ปิดทองหลังพระฯใช้หลักเกษตรทฤษฏีใหม่ ทั้งขั้นต้น และขั้นก้าวหน้ามี 3 ลำดับ ขั้นแรกสร้างความอยู่รอดในระดับครัวเรือน พึ่งพาตนเองได้ เริ่มจากการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตร ปรับรูปแบบการปลูกพืช ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สร้างอาชีพเสริม ประเมินตัวเลขเบื้องต้นสิ้นสุดปีงบประมาณ 2564 ทุกพื้นที่สามารถเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์จากน้ำได้ รวม 514,420 ไร่ ผู้รับประโยชน์ 148,886 ครับเรือน ขั้นที่สอง สนับสนุนให้เกิดการการร่วมกลุ่มอาชีพได้ 59 กลุ่ม 8 วิสาหกิจชุมชน 1 สหกรณ์ และขั้นสุดท้ายสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงภายนอก ได้แก่ โครงการทุเรียนคุณภาพที่ส่งออกต่างประเทศ โครงการกัญชงเชิงพาณิชย์

งานขยายผลจากพื้นที่ได้แก่โครงการซ่อมแซมและปรับปรุงเสริมประสิทธิภาพแหล่งน้ำตั้งแต่ปี 2558 ทำไปแล้ว 2,109 โครงการมีผู้รับประโยชน์ 120,439 ครัวเรือน พื้นที่รับประโยชน์ 457,981 ไร่ ประเมินรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7,000 บาทต่อไร่

การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เป็นแนวทางที่แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เสริมสร้างให้ชุมชนเกิดการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ขยายผลต่อเนื่องในภาพรวมของสังคมจากระดับจังหวัดเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาระดับประเทศเดินตามพันธกิจที่ปิดทองหลังพระฯได้วางไว้

ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
ศึกษา เรียนรู้ ต่อยอด แนวพระราชดำริ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "ปิดทองหลังพระฯ"
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ