ปิดทองหลังพระฯ เสริมความมั่นคงชายแดนภาคใต้ หนุนเกษตรกรพัฒนาคุณภาพทุเรียนเพื่อความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 นายกฤษฎา บุญราช ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เฝ้าฯ รับเสด็จ และกราบบังคมทูลถวายรายงาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการปรับปรุงคุณภาพและปริมาณเพื่อเพิ่มมูลค่าทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการเสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการของสถาบันปิดทองหลังพระฯ “งานวันลองกอง ของดีเมืองนราฯ ครั้งที่ 46 ประจำปี 2566” ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

สถาบันปิดทองหลังพระฯ จะเน้นการทำงานโดยน้อมนำวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ตามหลักการทรงงานและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาดำเนินการในพื้นที่ โดยจะทำหน้าที่ประสานงานและสนับสนุน หน่วยงานรัฐและหรือเอกชนให้นำวิธีการและขั้นตอนการทำงานตามหลักการทรงงานและแนวพระราชดำริ มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area-Based) รายตำบล หมู่บ้าน ในพื้นที่เป้าหมายของสถาบันปิดทองหลังพระฯ จำนวน 22 จังหวัด และจะได้นำผลการพัฒนาในพื้นที่เป้าหมายไปเผยแพร่และขยายผลในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต่อไป

โครงการปรับปรุงคุณภาพและปริมาณเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับทุเรียนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2561 จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้ไม่มีพ่อค้ามารับซื้อในพื้นที่ ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดหลังจากภาคอื่นประมาณช่วงเดือนสิงหาคม – เดือนกันยายน อีกทั้งเกษตรกรยังขาดความรู้ในการดูแลทุเรียนที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการป้องกันโรคและหนอนเจาะเมล็ด ขาดความรู้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทำให้ตัดผลผลิตอ่อนไปขาย จึงทำให้พ่อค้ากดราคา มีการรับซื้อเหมาสวน

“แต่ด้วยเอกลักษณ์ของทุเรียนสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่มีรสชาติดี เนื้อหนานุ่ม หวานมัน เมล็ดลีบ มีศักยภาพในการปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มปริมาณให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้”

สถาบันปิดทองหลังพระฯ น้อมแนวพระราชดำริและหลักการทรงงาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักในการดำเนินงาน “เข้าใจ” โดยศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบให้ทราบถึงปัญหาที่แท้จริงของทุเรียนใต้ “เข้าถึง” ด้วยการสำรวจสภาพแปลงทุเรียน เรียนรู้การผลิตทุเรียนแบบเดิมของเกษตรกร และพัฒนาคู่มือการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ 9 ขั้นตอน โดยปรับให้สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และ “พัฒนา” มีการจัดทำขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561 จนประสบความสำเร็จในปี 2565 -2566

ด้วยบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐโดยเฉพาะส่วนราชการในจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และภาคเอกชน เพื่อการส่งเสริมเกษตรกรตั้งแต่เริ่มกระบวนการให้ความรู้ด้านการผลิต อาทิ การนำเกษตรกรไปเรียนรู้การดูแลทุเรียนให้มีคุณภาพที่จังหวัดระยอง แล้วกลับมาทำให้สวนของตนเอง การจัดทำคู่มือดูแลทุเรียนตามระยะการเจริญเติบโต ปรับเปลี่ยนการดูแลสวนทุเรียนของเกษตรกรจากปีละ 2 ครั้ง เป็นดูแลสวนทุกวัน การใช้ระบบหมอนทองแอปพลิเคชันติดตามการเจริญเติบโตและการปฏิบัติตามระยะของเกษตรกรเพื่อติดตามแก้ไขให้กับเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที ฯลฯ

ด้วยบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐโดยเฉพาะส่วนราชการในจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และภาคเอกชน เพื่อการส่งเสริมเกษตรกรตั้งแต่เริ่มกระบวนการให้ความรู้ด้านการผลิต อาทิ การนำเกษตรกรไปเรียนรู้การดูแลทุเรียนให้มีคุณภาพที่จังหวัดระยอง แล้วกลับมาทำให้สวนของตนเอง การจัดทำคู่มือดูแลทุเรียนตามระยะการเจริญเติบโต ปรับเปลี่ยนการดูแลสวนทุเรียนของเกษตรกรจากปีละ 2 ครั้ง เป็นดูแลสวนทุกวัน การใช้ระบบหมอนทองแอปพลิเคชันติดตามการเจริญเติบโตและการปฏิบัติตามระยะของเกษตรกรเพื่อติดตามแก้ไขให้กับเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งกองทุนให้เกษตรกรยืมปัจจัยการผลิต ขั้นกลางทาง คือการให้ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าตามความต้องการของตลาด เช่น การเก็บเกี่ยว การขนส่งทุเรียนไม่ให้เสียหาย การวัดเปอร์เซ็นต์แป้ง มีการส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อให้เกษตรกรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรึกษากัน และมีการสร้างแปลงตัวอย่างทุเรียนที่ทำตามขั้นตอนของโครงการครบทุกระยะ จำนวน 20 แปลง เพื่อให้เกษตรกรได้มาเรียนรู้การพัฒนาทุเรียนอย่างถูกต้อง ขั้นปลายทาง คือให้ความรู้เกษตรกรเรื่องการตลาด โดยเกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาขายด้วยตัวเอง 3 รูปแบบ เช่น การขายให้ล้งพันธมิตร การขายออนไลน์แบบสั่งจองล่วงหน้า และการประมูลสวน

“ทุกรูปแบบผู้ซื้อจะสมทบเงินเข้า “กองทุนพัฒนาเกษตรกร” กิโลกรัมละ 2 บาท เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ไปพัฒนาคุณภาพผลผลิตต่อไป ปัจจุบันมีเงินสะสมกว่าล้านบาท”

ผลการดำเนินงานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สามารถทำให้ผลผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิม 800 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 1,571 กิโลกรัมต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 96.3 คุณภาพผลผลิตทุเรียน จากหนามแดงเป็นหนามเขียว เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยรายละ 129,856 บาท เป็น 262,731 บาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 102.75 เกิดการจ้างงานในพื้นที่ เป็นแรงงานฉีดพ่น ตัดทุเรียน และการรับจ้างในล้งรับซื้อ เช่น คนเคาะ ป้ายยาขั้วทุเรียน จุ่มน้ำยา บรรจุกล่อง เป็นต้น และเกิดผลตอบแทนทางสังคมด้านอื่นๆ เช่น เกิดอาชีพทำสวนทุเรียนในพื้นที่ ที่มีรายได้มากขึ้น เยาวชนที่ไปทำงานนอกพื้นที่หรือต่างประเทศกลับมาดูแลสวนทุเรียนของครอบครับทำให้ครอบครัวอบอุ่น

“เป็นตัวอย่างของการนำหลักการทรงงานและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ก่อให้เกิดความมั่นคง ยั่งยืนให้กับประเทศ”

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ