[ข่าว] ปิดทองฯจ้างงานโควิดระยะ 2 คืบ เกษตรกรพร้อมเพิ่มรายได้ 882 ลบ.ต่อปี

ปิดทองหลังพระฯ เดินหน้าตามแผนจ้างงานผู้รับผลกระทบโควิดระยะ 2 คืบหน้า แล้วเสร็จกว่า 317 โครงการในพื้นที่ต้นแบบ 9 จังหวัด มากกว่าร้อยละ 59 อนาคตต่อยอดสร้างรายได้เกษตรกรไม่ต่ำกว่า 882 ล้านบาทต่อปี

“โครงการฝ่าวิกฤติด้วยเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้พัฒนาก้าวไปตามแนวพระราชดำริ” หรือ“โครงการโควิดปิดทองหลังพระ ระยะที่ 2”เป็นโครงการที่ปิดทองหลังพระฯร่วมกับหน่วยงานภาคีในพื้นที่จังหวัดต้นแบบเพื่อจ้างงานผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างเข้ามาเป็นพนักงานโครงการและอาสาสมัครพัฒนาปี 2564 ซึ่งเป็นระยะที่ 2 มีการจ้างงานเพิ่มอีก 587 คน ระยะเวลา 8 เดือน (ตุลาคม 2563 ถึง พฤษภาคม 2564)

แม้ช่วงที่ผ่านมา การทำงานร่วมกับภาคีและชุมชนในพื้นที่ต้องดำเนินตามมาตรการป้องกันโรคระบาดโควิดของแต่ละจังหวัด แต่ก็มีสร้างความเข้าใจชาวบ้านผู้รับประโยชน์ในพื้นที่ ร่วมมือซ่อมแซมเสริมศักยภาพแหล่งน้ำ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำกระจายสู่แปลงเกษตร ภายการมาตรการดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อให้โครงการแล้วเสร็จทันเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งเริ่มฤดูฝนพร้อมกับเดินหน้าตามแผนต่อยอดการเพาะปลูกและกิจกรรมการเกษตรอื่นๆ หลังจากพัฒนาระบบน้ำแล้วเสร็จ

โครงการจ้างงานผู้รับผลกระทบโควิด ระยะที่ 2 มีการดำเนินการทั้งสิ้น 539 โครงการ ในพื้นที่ต้นแบบ 9 จังหวัด ได้แก่ น่านอุทัยธานี เพชรบุรี อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จ้างงานพนักงานโครงการและอาสาสมัครพัฒนา 587 คน มีครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์ 22,500 ครัวเรือน พื้นที่รับประโยชน์เพิ่มขึ้น 126,000 ไร่ น้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้น 99 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดการณ์รายได้สู่เกษตรกร 882 ล้านบาทต่อปี

ตารางความคืบหน้าการดำเนินโครงการโควิดปิดทองหลังพระฯ ระยะที่ 2

ลำดับ

จังหวัด

เป้าหมาย

(โครงการ)

สถานะการดำเนินงาน (โครงการ)

การจ้างงาน

(คน)

แล้วเสร็จ

 

อยู่ระหว่างดำเนินการ

 

ยังไม่ดำเนินการ

1

น่าน

166

148

18

-

86

2

อุทัยธานี

61

37

24

-

35

3

เพชรบุรี

3

3

0

-

4

4

อุดรธานี

99

77

22

-

148

5

ขอนแก่น

82

16

66

-

128

6

กาฬสินธุ์

48

16

32

-

67

7

ปัตตานี

21

3

17

1

40

8

ยะลา

41

14

24

3

53

9

นราธิวาส

18

3

15

-

26

รวม

539

317

218

4

587

ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2564 

ไม่เพียงการปรับปรุงและเสริมประสิทธิภาพแหล่งน้ำเดิมที่ชำรุดเสียหายให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ยังมีการดำเนินงานต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร ปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเป็นที่ต้องการของตลาด ช่วยเพิ่มรายได้เกษตรกร ที่ส่งผลในหลายมิติทั้งการเรียนรู้การทำงานตามแนวพระราชดำริ มีอาชีพที่บรรเทาปัญหาว่างงาน ต่อยอดการทำเกษตร ยังทำให้แรงงานคืนถิ่นเพิ่มช่องทางหารายได้ในบ้านเกิดของตนเอง

ทำให้อนาคตมีอาชีพเสริม สามารถพึ่งพาตนเองได้ แม้จะเจอวิกฤติเกี่ยวกับการจ้างงาน พึ่งพาตนเองได้ และยังได้สร้างโอกาสพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่เป็นบ้านเกิดของตนเอง

กระบวนการทำงานแบบปิดทองหลังพระฯ นำแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” ในขั้นที่ 1 (ขั้นอยู่รอด พึ่งพาตนเองได้) ยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจเข้าถึง พัฒนา” มาประยุกต์ใช้ดำเนินโครงการ เริ่มจากศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ รับสมัครพนักงานและอาสาพัฒนาโครงการ จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร/ผู้ว่างงานและผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยราชการให้มีความเข้าใจต่อโครงการและได้รับความรู้การประกอบอาชีพตามแนวพระราชดำริเป็นลำดับแรก

จากนั้นจึงเริ่มพัฒนาด้านแหล่งน้ำ ระบบการกระจายน้ำ การบริหารจัดการที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด การส่งเสริมอาชีพเกษตรหลังมีน้ำ เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีพได้ ตามลำดับ ซึ่งจะเน้นการซ่อมแซมแหล่งน้ำเดิมที่ชำรุดเสียหายและเสริมศักยภาพแหล่งน้ำระบบกระจายน้ำสู่พื้นที่เกษตรเพื่อให้ประชาชนมีน้ำทำการเกษตร โดยมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ สนับสนุนค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ค่าจ้างแรงงานในพื้นที่ (พนักงานและอาสาพัฒนาโครงการ) โดยประชาชนที่ได้รับประโยชน์ร่วมสละแรงงานพัฒนาแหล่งน้ำร่วมกัน

การขับเคลื่อนโครงการเน้นการพัฒนาพื้นที่แบบ “องค์รวม” ที่สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ “สี่ประสาน” ได้แก่ 1.ภาคราชการ ประกอบด้วยส่วนราชการระดับกระทรวง จังหวัด อำเภอ และชุมชน 2. ภาคเอกชน 3. ประชาชนผู้รับประโยชน์ และ 4. มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ที่บูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ทุกระดับ และจัดจ้างผู้ว่างงานในชุมชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็น “พนักงานโครงการ” ทำหน้าที่ประสานงานภาคีร่วมพัฒนา” และจ้างงาน “อาสาสมัครพัฒนาพื้นที่” ทำหน้าที่พัฒนาพื้นที่แหล่งน้ำร่วมกับประชาชนที่รับประโยชน์ ก่อให้เกิด "สามประโยชน์” ได้แก่ เกิดแหล่งน้ำขนาดเล็กได้รับการฟื้นฟูและมีระบบกระจายน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร เกิดอาชีพที่ยั่งยืนมีธุรกิจใหม่ที่มีสินค้าคุณภาพตรงความต้องการของตลาด และเกิดความรู้เพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคตโดยมุ่งหวังว่าโครงการลักษณะนี้จะเป็นต้นแบบและแนวทางการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ

[ข่าว] ปิดทองฯจ้างงานโควิดระยะ 2 คืบ เกษตรกรพร้อมเพิ่มรายได้ 882 ลบ.ต่อปี
[ข่าว] ปิดทองฯจ้างงานโควิดระยะ 2 คืบ เกษตรกรพร้อมเพิ่มรายได้ 882 ลบ.ต่อปี
[ข่าว] ปิดทองฯจ้างงานโควิดระยะ 2 คืบ เกษตรกรพร้อมเพิ่มรายได้ 882 ลบ.ต่อปี
[ข่าว] ปิดทองฯจ้างงานโควิดระยะ 2 คืบ เกษตรกรพร้อมเพิ่มรายได้ 882 ลบ.ต่อปี
[ข่าว] ปิดทองฯจ้างงานโควิดระยะ 2 คืบ เกษตรกรพร้อมเพิ่มรายได้ 882 ลบ.ต่อปี
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ