[บทความ] “บ้านเกิดและการเกษตร” อาจเป็นคำตอบให้หลายคนที่ไม่ย่อท้อในวิกฤตินี้

“ผมว่าสถานการณ์โควิดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆอยู่ที่เราจะอยู่อย่างไร ระมัดระวัง อยู่ในความไม่ประมาทตลอดก็เป็นผลดี และแน่นอนว่าอย่าท้อ จะได้ไม่เครียด สู้ไปก่อน เป็นกำลังใจให้กับทุกคน” คือเสียงจากความรู้สึกของนายมุสรีย์ ดอเล๊าะ หรือ “มุส” ในวัย 24 ปี อดีตพนักงานสัตวบาล ในจังหวัดนครปฐม อีกหนึ่งจากหลายคนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และต้องตกงานเป็นเวลานานกว่า 1 ปีที่ผ่านมา หลังจากเพิ่งจะหอบความฝันทั้งใบของตัวเองหลังเรียนจบด้านสัตวบาลจากจังหวัดยะลามุ่งหน้าสู่นครปฐม หวังกินเงินเดือนๆละเล็กน้อยเพื่อส่งให้ทางบ้านและเก็บสะสมสำหรับการสร้างบ้านของตัวเองแต่แล้วก็ไม่เป็นอย่างหวังเมื่อสถานการณ์โควิดเกิดขึ้นบริษัทเริ่มประกาศลดจำนวนพนักงานและประกาศโครงการสมัครใจลาออกกระทั่งต้องปิดตัวลงในเดือนมิถุนายน 63 อย่างเป็นทางการ ในระยะเวลาเพียง 6 เดือน ที่เขานั้นเพิ่งได้เริ่มทำงาน จากนั้นจึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด ที่จังหวัดยะลาอีกครั้งกับอาชีพเกษตร หวังเริ่มนับหนึ่งใหม่ จนกระทั่งมีโอกาสได้ทำงานกับโครงการฝ่าวิกฤติฯ กับมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ

“สามเดือนแรกทดลอง คือเราผ่านโปรแล้ว ตอนแรกวาดฝันว่าจะได้ทำงานแถวนั้น ซื้อบ้าน ซื้อรถ คิดใหญ่มาก จากนั้นที่ทำงานก็ต้องปิดเพราะโควิด ความคิดตอนนั้นท้อเลย คิดว่ากลับมาทำงานของเราจะดีกว่า เริ่มต้นใหม่เลยกับอาชีพเกษตร เพราะเรียนมาและที่บ้านก็ทำด้วย ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ไว้กินไข่ มีสวนยางนิดหน่อย ขายได้ 14 บาทต่อกิโลกรัม ได้ประมาณ 200 บาทต่อวันพออยู่ได้กับแม่สองคน ก่อนจะมาได้งานจากปิดทองฯดีใจมาก” มุสรีย์ ดอเล๊าะ กล่าว

เขาเล่าเพิ่มเติมว่าปัจจุบันเป็นอาสาพัฒนาในพื้นที่บ้านพร่อน ตำบลพร่อน จังหวัดยะลา ของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ โดยหน้าที่ส่วนใหญ่คือการประสานงานระหว่างปิดทองหลังพระฯและชาวบ้านถึงโครงการซ่อมแซมฝายพร่อน ภายใต้โครงการฝ่าวิกฤติด้วยเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้พัฒนาก้าวไปตามแนวพระราชดำริ ที่ชาวบ้านจะได้รับประโยชน์ ความรู้สึกคือดีใจมากที่ได้มาทำงานตรงนี้แม้จะแค่ 3 เดือน แต่ภูมิใจมากที่ได้ช่วยชุมชน เพราะฝายตรงนั้นที่ดูแลพังมาเป็นระยะเวลานาน ชาวบ้านต้องอาศัยกระสอบทรายอุดรูรั่วมายาวนาน และได้แต่ รอน้ำฝนอย่างเดียวในการทำนา

แต่ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมเกือบแล้วเสร็จ คาดว่าภายในกลางเดือนพฤษภาคมทั้งตัวผมและชาวบ้านกว่า 60 ครัวเรือน จะมีน้ำใช้ อย่างเป็นทางการ พื้นรับประโยชน์กว่า 200 ไร่ ส่วนตัวมองว่าน้ำเป็นปัจจัยสำคัญมากเพื่อต่อยอดชีวิตสู่อื่นๆให้กับชาวบ้าน ทั้งนี้อยากให้มีโครงการดีๆแบบนี้ต่อไปอีกในชุมชน เพราะภายในตำบลระบบการใช้น้ำอีกหลายส่วนยังไม่ได้รับการแก้ไข ถ้ามีโครงการต่อไปส่วนตัวอยากซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน นอกจากนี้ก็หวังจะได้มีโอกาสได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาส่งเสริมเกษตรกรให้อยู่ดีขึ้น เน้นปลูกผักริมรั้วและเลี้ยงสัตว์ลดต้นทุน อย่างไรก็ดีผมมองครั้งนี้ว่า การกลับมาอยู่บ้านได้ถือเป็นเรื่องดีๆเป็นโอกาสในวิกฤติที่เกิดขึ้นที่เราควบคุมไม่ได้ ได้อยู่กับแม่ ได้ช่วยชาวบ้านด้วย เพราะถ้าอยู่ไกลๆก็ไม่ได้กลับมาพัฒนาบ้านที่เราเกิด มุสรีย์ ดอเล๊าะ กล่าวทิ้งท้ายด้วยน้ำเสียงภูมิใจ

[บทความ] “บ้านเกิดและการเกษตร” อาจเป็นคำตอบให้หลายคนที่ไม่ย่อท้อในวิกฤตินี้
[บทความ] “บ้านเกิดและการเกษตร” อาจเป็นคำตอบให้หลายคนที่ไม่ย่อท้อในวิกฤตินี้
[บทความ] “บ้านเกิดและการเกษตร” อาจเป็นคำตอบให้หลายคนที่ไม่ย่อท้อในวิกฤตินี้
[บทความ] “บ้านเกิดและการเกษตร” อาจเป็นคำตอบให้หลายคนที่ไม่ย่อท้อในวิกฤตินี้
[บทความ] “บ้านเกิดและการเกษตร” อาจเป็นคำตอบให้หลายคนที่ไม่ย่อท้อในวิกฤตินี้
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ