ผลงานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก หนุนชุมสร้างเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อม

สถาบันปิดทองหลังพระฯ เดินหน้าแผนงานพัฒนาศักยภาพแหล่งน้ำขนาดเล็กภายใต้การสนับสนุนงบจาก มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2564 ถึง 2565 สัมฤทธิ์ผลระยะแรก 8 จังหวัดภาคอีสาน พื้นที่รับประโยชน์กว่า 6,000 ไร่ ต่อเนื่องปีงบประมาณ 2566 พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แล้วเสร็จ 12 โครงการ จำนวน 2,451 ไร่ เป้าหมายใหม่ ปี 2567 เพิ่มอีก 10 โครงการ


โครงการซ่อมแซมเสริมศักยภาพแหล่งน้ำขนาดเล็ก ด้านทรัพยากรน้ำระดับตำบล โดย สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี 2564-2565 ดำเนินการไปแล้ว 12 โครงการ 12 หมู่บ้าน 12 ตำบล 12 อำเภอใน 8 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ นครราชสีมา อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และร้อยเอ็ด รวมพื้นที่รับประโยชน์ 3,627 ไร่ ได้ประโยชน์ 560 ครัวเรือน


ล่าสุดตามแผนปีงบประมาณ 2566 มีการเข้าไปดำเนินโครงการฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แล้วเสร็จไป 12 โครงการ พื้นที่ 2,451 ไร่ ผู้รับประโยชน์ 1,213 ครัวเรือน


ยกตัวอย่างผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อาทิ โครงการซ่อมแซมฝายการเกษตร บ้านยะลูตง ต.กาเยาะมาตี อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส พื้นที่รับประโยชน์ 313 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่ที่ทำนาได้เฉพาะหน้าฝนแค่ 213 ไร่ ส่วนที่เหลือก็ปล่อยจนเกิดเป็นนาร้าง 100 ไร่ แต่ปัจจุบันสามารถทำนาได้เต็มพื้นที่ คาดการณ์ผลผลิต 350 กิโลกรัม/ไร่ และลดต้นทุนในการซื้อข้าวบริโภคในครัวเรือน


โครงการปรับปรุงประปาโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ บ้านทุ่งขมิ้น ม.2 ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส พื้นที่รับประโยชน์ 328 ไร่ 298 ครัวเรือน ปรับปรุงระบบการสูบน้ำขึ้นหอถังที่ต้องเสียค่าไฟเดือนละ 7,000-8,000 บาท มาใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ควบคู่ในเวลากลางวันประหยัดค่าไฟเหลือเพียง 4,000 บาท/เดือน


ขณะที่โครงการก่อสร้างฝายถาวรเพื่อการเกษตร และปรับปรุงซ่อมแซมฝายเกษตร ที่บ้านดูกูสุเหร่า หมู่ 4 ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส พื้นที่รับประโยชน์เป็นแปลงนารวม 2 โครงการ 454 ไร่ ช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม จากเดิมต้องนำกระสอบทรายและไม้มาทำฝายแต่ก็ไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ แต่ฝายใหม่นอกจากไม่ต้องตัดไม้และขนทรายมาทำแล้ว ยังสามารถควบคุมการเปิดปิดฝายได้ ไม่เกิดน้ำท่วมและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ


ทั้งนี้ โครงการซ่อมแซมเสริมศักยภาพแหล่งน้ำขนาดเล็ก ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริมาวางแผนการดำเนินงานยังช่วยสนับสนุนด้านสังคมที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในด้านความสามัคคี เพราะทุกโครงการฯ นอกจากมีหน่วยงานในพื้นที่มาสนับสนุนชุมชนแล้ว ผู้นำท้องถิ่น และชาวบ้านยังร่วมกันสละแรงงาน จนทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ พร้อมดูแล และบำรุงรักษา เมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย


สำหรับหลักเกณฑ์เพื่อการพิจารณาคัดเลือกชุมชนเข้าร่วมดำเนินโครงการฯ สถาบันปิดทองหลังพระฯ จะร่วมประชุมกับแต่ละจังหวัดของพื้นที่เป้าหมายที่มีโครงการต้นแบบอยู่เดิม โดยร่วมกับหน่วยงานของจังหวัดในการสำรวจ สภาพแหล่งน้ำ สภาพปัญหา ความจำเป็น ความเดือดร้อนของประชาชน ความต้องการที่แท้จริง ความพร้อมของพื้นที่ และความร่วมมือจากหน่วยงานในท้องถิ่น ที่สำคัญคือ ความเข้มแข็งของผู้นำและชุมชนที่มีอยู่แล้วและพร้อมเข้าร่วมด้วยการสละแรงงานโดยไม่มีค่าจ้าง พร้อมที่จะต่อยอดขยายผลสร้างงานสร้างอาชีพต่อเนื่อง


ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ