ปิดทองหลังพระฯรับมอบรางวัล”กาลพฤกษ์ทองคำ”

มข.คัดเลือกผู้พัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ
รางวัลกาลพฤกษ์ทองคำเป็นไปตามแนวทางการดำเนินนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรที่ประพฤติตนและมีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่น ตลอดทั้งยกย่องบุคคลหรือนิติบุคคลและองค์กรที่ได้ทำประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและสังคม โดยมีการพิจารณาคัดเลือกเป็นประจำทุกปี

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกาศรางวัลกาลพฤกษ์ทองคำ ประจำปี 2564 ประเภทนิติบุคคลหรือองค์กร คือ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

ผลจากการที่ปิดทองหลังพระฯ เป็นองค์กรที่มีปณิธานในการน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเป็น พระบิดาแห่งการเกษตรไทยนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ต้นแบบ เพื่อการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนอันเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ

เป็นองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่ขยายผลจนสามารถสร้างอาชีพให้กับชุมชน เกิดรายได้ในครัวเรือน สร้างวิถีชีวิตที่มีความพอเพียงและเกิดความยั่งยืน ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การทำงานปิดทองหลังพระฯ ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีการน้อมนำการพัฒนาตามแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และบริบทที่เปลี่ยนแปลง โดยมีการคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบเพื่อปฏิบัติงาน

การนำหลักการพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริมาปรับใช้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในลักษณะของห้องปฏิบัติการทางสังคม ห้องทดลองการแก้ปัญหาและการพัฒนาหมู่บ้าน ปิดทองหลังพระฯได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษาเกษตรกร และประชาชน มีการจัดการความรู้ นำแบบแผนการพัฒนาไปขยายผล ที่สามารถใช้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศ

พื้นที่ต้นแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของปิดทองหลังพระฯมีทั้งหมด 9 จังหวัด 82 หมู่บ้านครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีการบริหารจัดการตามสภาพพื้นที่จนเกิดผลสำเร็จ จนเกิดการขยายผล มีการจัดการเรียนรู้ เผยแพร่แนวพระราชดำริ สร้างรูปแบบแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่และขยายผล เกิดความต่อเนื่องในการทำงาน และส่งผลการพัฒนาเกิดขึ้นโดยตรงกบชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย

“ด้วยพันธกิจที่เน้นเรื่องการจัดการความรู้และการส่งเสริมการพัฒนาตามแนวพระราชดำริอย่างเป็นระบบกว้างขวาง จนกระทั่งเป็นแนวทางการพัฒนาหลักของประเทศ และมีเป้าหมายให้ประชาชนพึ่งแนวทางการพัฒนา เริ่มตั้งแต่ครัวเรือนพึ่งพาตนเอง ชุมชนรวมกลุ่มพึ่งตนเองได้ และเชื่อมโยงชุมชนออกสู่ภายนอก โดยกระบวนการและวิธีการทำงานอาศัยยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”

ปิดทองหลังพระฯเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาและจัดหาน้ำในตำบลทุ่งโป่ง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่นภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาคการเกษตร และชนบท ตั้งแต่ปี 2559 เริ่มต้น 10 หมู่บ้านในตำบลทุ่งโป่ง ส่วนพื้นที่อื่นในจังหวัดภาคอีสานมีอีก 2 แห่งคืออุดรธานี และกาฬสินธุ์

ผลจากการพัฒนาตำบลทุ่งโป่งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เพิ่มพื้นที่รับประโยชน์จากเดิม 2,476 ไร่ เป็น 10,339 ไร่ หรือ 4.18เท่า เกิดผู้รับประโยชน์ 625 ครัวเรือน มีการส่งเสริมการทำเกษตรระบบน้ำหยดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระจายน้ำในแปลงเกษตรมากยิ่งขึ้น นอกจากกักเก็บน้ำในแปลง ช่วยพัฒนาอาชีพการเกษตรสมัยใหม่ ส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่มีตลาดรองรับ และพัฒนากลุ่มการผลิตเพื่อก้าวสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม กลุ่มอาชีพ กลุ่มกองทุน และธนาคารชุมชนที่สามารถบริหารจัดการด้วยตนเองได้ ทำให้เกิดรายได้ภาคการเกษตรตั้งแต่ ปี 2559 - ปี 2564 รวม 164,110,471 บาท

ปิดทองหลังพระฯรับมอบรางวัล”กาลพฤกษ์ทองคำ”
ปิดทองหลังพระฯรับมอบรางวัล”กาลพฤกษ์ทองคำ”
ปิดทองหลังพระฯรับมอบรางวัล”กาลพฤกษ์ทองคำ”
รูปภาพเพิ่มเติม

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ