วิกฤติโควิด “แก่นมะกรูด” รอด ท่องเที่ยวโฮมสเตย์ควบคู่เกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างรายได้เข้าชุมชนหลักล้าน

     ปิดทองหลังพระฯร่วมกับจังหวัดอุทัยธานี อบจ.อุทัยธานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ปัญหาบุกรุกป่าด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ ปลูกพืช ไม้ผลเกษตรผสมผสาน ผลักดันการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ตามวิถีกะเหรี่ยงรับนักท่องเที่ยว แม้เกิดวิกฤติโควิด สร้างรายได้เข้าชุมชน

    นายตุลาพัฒน์ วัฒนทรัพย์ตระกูล หัวหน้างานพื้นที่ต้นแบบอุทัยธานี สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เปิดเผยว่า ด้วยภูมิประเทศ พื้นที่ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ที่ตั้งอยู่บนความสูงจากน้ำระดับทะเลประมาณ 700 เมตร จึงทำให้สภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกับทางภาคเหนือของไทย ชาวบ้านที่อาศัยอยู่นั้นส่วนหนึ่งเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงโปร์มีชีวิต รายได้จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง บ่อยครั้งที่เกิดปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่า และน้ำท่วม จังหวัดอุทัยธานี อบจ.อุทัยธานีจึงร่วมกับปิดทองหลังพระฯ เข้าไปส่งเสริมแก้ปัญหาด้วยการชวนชาวบ้านคิด ปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช ส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาปลูกพืชทางเลือก ให้มีแหล่งอาหารในครัวเรือน 

    
    ทั้งนี้จากสภาพพื้นที่แก่นมะกรูด ที่มีภูมิอากาศในช่วงฤดูหนาวคล้ายคลึงกับพื้นที่ทางภาคเหนือ ปิดทองหลังพระฯจึงดำเนินการส่งเสริม แก้ไขปัญหา ประยุกต์ใช้ตามแนวพระราชดำริ คนกับป่า สร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อไม่ให้คนไปบุกรุกป่า ด้วยการปรับเปลี่ยนอาชีพจากปลูกพืชเชิงเดี่ยว เปลี่ยนมาทำเกษตรผสมผสาน ภายใต้การบูรณาการทำงานร่วมกันจากหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งจังหวัดอุทัยธานี กระทรวงเกษตรฯ กรมป่าไม้ และอบจ.ก่อให้เกิดพื้นที่แปลงเกษตรผสมผสาน 2,603 ไร่ มีผลผลิตทั้งไม้ผลอาทิ อโวคาโด ส้มโอ และยังแบ่งพื้นที่ทดลองปลูกสตรอเบอร์รี่ ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก จึงเกิดแนวคิดปรับรูปแบบทำแปลงไม้ดอกเมืองหนาว เพิ่มพื้นที่ปลูกสตรอเบอร์รี่ รวมทั้งสร้างที่พักโฮมสเตย์ รูปแบบเป็นบ้านไม้ไผ่แนวกะเหรี่ยง สร้างไว้ในสวนแปลงเกษตร ให้นักท่องเที่ยวพักตามลำพังแบบครอบครัว พร้อมจัดกิจกรรมเที่ยวชมสวน สัมผัสการทำเกษตร นำผลผลิตที่มีอยู่ในไร่ ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่น อาทิ มันมือเสือ มันเห็ด ฟักทองกะเหรี่ยง มันสีเหลือง รวมทั้งอาหารพื้นบ้านให้ชิมและซื้อกลับไป
 
    หัวหน้างานพื้นที่ต้นแบบอุทัยธานี บอกต่อว่า เพื่อสร้างเศรษฐกิจภายในชุมชน ชาวบ้านได้นำผลผลิตจากแปลงเกษตรผสมสาน อาทิ กะหล่ำปลีหัวใจ บร็อคโคลี่ ผักชีญี่ปุ่น มาจำหน่ายยังตลาดกะเหรี่ยง ที่ตั้งอยู่บริเวณหมู่  บ้านใต้ ตำบลแก่นมะกรูด ทั้งนี้รายได้จากการทำโฮมสเตย์ และจำหน่ายสินค้า ส่งผลให้แต่ละปีมีเงินหมุนเวียนในชุมชนโดยรวมมากถึง 6 ล้านบาท แม้ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้ช่วงที่ผ่านมาการเปิดที่พักโฮมสเตย์เหลือเพียง 3 จุด แต่ก็สร้างรายได้รวมถึง 200,000 บาท และเกษตรกรในโครงการ มีรายได้จากการจำหน่ายผักไม้ผลอยู่ที่ 2,000,000 บาทเลยทีเดียว
 
    “เราโชคดีที่เตรียมพร้อมรับสถานการณ์รองรับไว้ล่วงหน้า แม้จะยังไม่รู้แน่ชัดว่าสถานการณ์โควิดจะต่อเนื่องอีกนานแค่ไหน ก็ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตชาวบ้านมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาปิดทองหลังพระฯ ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชผักที่เรากิน และกินในสิ่งที่ปลูก เหลือจึงขาย ซึ่งช่วงที่ผ่านมาชาวบ้านแก่นมะกรูดได้นำผลผลิตจากภาคเกษตรร่วมบริจาคให้ชุมชน จังหวัดใกล้เคียงและพื้นที่อื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19” นายตุลาพัฒน์ กล่าว

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ