ประธานกรรมการสถาบันฯปิดทองหลังพระฯคนใหม่ สานต่อแนวพระราชดำริขยายผลเพื่อชุมชน

    “กฤษฎา บุญราช” ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง พร้อมเดินหน้าสานต่องาน ประเดิมลงพื้นที่ต้นแบบภาคอีสานกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ผลสัมฤทธิ์สร้างชุมชนเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรเชื่อมโยงการตลาดกับห้างค้าปลีก เชื่อมั่นทิศทางการทำงานแบบบูรณาการความมือภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม เสริมองค์ความรู้สมัยใหม่ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน
    นายกฤษฎา บุญราช ในฐานะประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริคนใหม่ เริ่มการทำงานด้วยการร่วมกับคณะตรวจเยี่ยมการทำงานของปิดทองหลังพระฯในพื้นที่ต้นแบบภาคอีสาน จังหวัดขอนแก่น และกาฬสินธุ์ ได้แก่โครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกาฬสินธุ์ และโครงการพัฒนาและจัดหาน้ำในตำบลทุ่งโป่ง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 

    ทั้ง 2 พื้นที่ต้นแบบฯมีการพัฒนาตามแนวพระราชดำริในเรื่องแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเกษตรกร สามารถรวมกลุ่มอาชีพ และเชื่อมโยงการตลาดสร้างเครือข่ายกับภาคเอกชนที่เป็นห้างค้าปลีกรายใหญ่ ที่นำผลผลิตไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคทำให้เกษตรกรมีรายได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นได้

    นายกฤษฎาระบุใน   สารรายงานประจำปี 2564 ของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯว่า “จากการเข้ามารับหน้าที่ เพื่อสานต่องานที่หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันฯ ท่านเดิม ได้วางรากฐานไว้อย่างมั่นคงดีแล้ว สถาบันฯยังได้มีการกำหนดแนวทางทำงานใหม่ ๆ ไว้มากมายหลายเรื่อง นอกจากการพัฒนาเชิงพื้นที่ในพื้นที่ต้นแบบเดิม 9 จังหวัด  พื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคง 7จังหวัดยังมีการนำผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาและองค์ความรู้มาขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริออกไปในอีกหลายจังหวัดเพิ่มมากขึ้น”

    แม้ปัจจุบันจะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือ โควิด-19 แต่ในพื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 5,278 ครัวเรือน ยังสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากรายได้ภาคการเกษตร ธุรกิจชุมชนและลดรายจ่ายได้รวม 109.9 ล้านบาท มีผลผลิตและโรงคัดแยกผลผลิตที่ได้มาตรฐาน มีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน 22 แห่ง หมู่บ้านต้นแบบ 19 หมู่บ้านในจังหวัดน่านและอุดรธานี มีแผนพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนที่มีคุณภาพพร้อมเข้าสู่ระบบการพัฒนาปกติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาตามแนวทางของปิดทองหลังพระฯ

        ขณะที่โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID–19ที่ ปิดทองหลังพระฯ ดำเนินการใน 9 จังหวัด ทำให้เกิดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชนขนาดเล็ก 646 โครงการ มีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 43,549 ครัวเรือน เพิ่มพื้นที่รับประโยชน์จากระบบน้ำ 204,218 ไร่ คาดการณ์รายได้ของเกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 1,430 ล้านบาทและมีการจ้างงานผู้ว่างงานที่กลับสู่ภูมิลำเนารวม 960 คน
 ผลสัมฤทธิ์ดังที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นต้นแบบนำมาสู่การขยายผลออกไปในพื้นที่อื่น ๆ ร่วมกับหน่วยงานราชการ เช่น กรมทรัพยากรน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  

    “บทบาทของปิดทองหลังพระฯ มีการปรับเปลี่ยนไปเป็นผู้ให้ความรู้ เป็นพี่เลี้ยง ให้คำปรึกษา และจะรับหน้าที่เป็นผู้ประสานกับหน่วยงานรัฐ และเอกชน รวมทั้งภาคประชาสังคมเพื่อนำองค์ความรู้สมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ รวมทั้งประสานงานกับภาคเอกชนเพื่อหาตลาดมารับซื้อผลผลิตของโครงการซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อครอบครัวในระยะยาวต่อไป”
     การบริหารงานภายในองค์กรยังมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ยิ่งขึ้น เช่น มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ เช่น ระบบ Internet of thing (IOT)  การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศขนาดใหญ่  การจัดทำแผนที่รายละเอียดสูงโดยอากาศยานไร้คนขับ การใช้เทคโนโลยีในการทำเกษตรแบบแม่นยำ มีระบบ    การพัฒนาบุคลากรของสถาบัน เพิ่มขีดความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ และการจัดการเชิงกลยุทธ์ในระดับพื้นที่  เป็นต้น

     นายกฤษฎาย้ำอย่างมั่นใจว่า การทำงานของปิดทองหลังพระฯจะยังคงเดินหน้า ด้วยความยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไปอย่างแน่นอน

ขอบคุณรูปภาพจากจังหวัดกาฬสินธุ์

ข่าวอื่นๆ

น่าน

น่าน

อุดรธานี

อุดรธานี

กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์

เพชรบุรี

เพชรบุรี

อุทัยธานี

อุทัยธานี

ขอนแก่น

ขอนแก่น

3 จังหวัด
ชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัด
ชายแดนเหนือ

3 จังหวัดชายแดนเหนือ